คำถามด้านบริการ

Q: บริการ AIS Fibre คืออะไร ?

A:

  • บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านเทคโนโลยีไฟเบอร์ออพติก 100% คุณภาพสัญญาณแรง ไม่มีสะดุด มีเสถียรภาพสูง ไร้สัญญาณรบกวน พร้อมตอบสนองการใช้งานไม่จำกัด
  • รองรับการใช้งานมัลติมีเดียอย่างเต็มรูปแบบ เช่น ดูทีวีผ่านเน็ต เล่นเกมออนไลน์ ใช้งานกล้องวงจรปิด
  • เชื่อมต่อการใช้งานอินเทอร์เน็ตจาก AIS ได้ทุกที่ทุกเวลา
  • สนุกกับความบันเทิงระดับพรีเมี่ยมครบในกล่องเดียวกับ AIS PLAYBOX ทั้งภาพยนตร์ ซีรีส์ รายการทีวี และ คาราโอเกะ พร้อมสัมผัสสุดยอดความคมชัด ให้คุณสนุกจนไม่อยากพลาดจากหน้าจอ
  • ติดตั้งได้รวดเร็ว พร้อมบริการหลังการขายจากทีมงานคุณภาพ
Q: บริการ AIS Fibre มีแพ็กเกจอะไรบ้าง ?

A:

แพ็กเกจ ความเร็วสูงสุด
ดาวน์โหลด/อัปโหลด
ค่าบริการรายเดือน
(บาท/เดือน)
Serenade Package
สัมผัสความแรงระดับ 2Gbps พร้อมความบันเทิงระดับพรีเมี่ยม
2 Gbps/500 Mbps 1,699
1 Gbps/500 Mbps 899
SuperMESH WiFi Package
ตอบโจทย์ ครบทุกการใช้งาน
1.5 Gbps/500 Mbps 1,299
1 Gbps/500 Mbps 999
BYOD Package
ทางเลือกใหม่ ที่ให้คุณนำอุปกรณ์ WiFi Router ของตนเองมาใช้
2 Gbps/500 Mbps 1,299
1 Gbps/500 Mbps 599
500/500 Mbps 399
BROADBAND24 Package
เน็ตบ้านคุณภาพ ติดตั้งเร็ว ติดต่อง่าย แก้ปัญหาจบ ภายใน 24 ชม.
500/500 Mbps 599
POWER4 Special Package
ครบกว่า คุ้มกว่า แพ็กเดียวจบ ทั้งเน็ตบ้าน,
เน็ตมือถือและความบันเทิง
200/200 Mbps 799
500/500 Mbps 899
1000/200 Mbps 999
eSports Package
แพ็กเกจเอาใจคอเกมเมอร์
เล่นเกมส์ ลื่นไหล ไม่มีสะดุด
200/200 Mbps 790
300/300 Mbps 890
500/500 Mbps 990
Q: AIS Fibre รองรับบริการเสริมอะไรได้บ้าง ?

A:

  • สามารถรองรับการใช้งานมัลติมีเดียได้อย่างเต็มรูปแบบ อาทิ โทรศัพท์บ้าน (Fixed line), ดูทีวีผ่านเน็ต (IPTV) ฯลฯ
  • สามารถโหลดบิตได้ แต่ความเร็วจะขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ใช้งานในขณะเวลานั้นๆ (Fair usage policy)
  • สามารถทำ port forwarding เพื่อใช้กับกล้องวงจรปิด (IP Camera) ได้ ไม่ว่าคุณจะใช้แพ็กเกจใดๆ ก็ตาม
Q: หากลูกค้าต้องการเปลี่ยนแพ็กเกจความเร็วของบริการ AIS Fibre ได้หรือไม่ ?

A:

  • กรณีลูกค้าต้องการเปลี่ยนแพ็กเกจความเร็วสูงขึ้น (Speed) สามารถเปลี่ยนแพ็กเกจได้ด้วยตัวเองที่เว็บไซด์ AIS Fibre (www.ais.co.th/fibre) เลือกเมนู “เปลี่ยนโปรโมชั่น” หรือติดต่อ AIS Fibre Contact Center 1175
  • ไม่สามารถเปลี่ยนความเร็วแพ็กเกจให้น้อยลง (Speed) จนกว่าจะครบอายุสัญญา 12 เดือน
Q: ลูกค้าขอระงับการใช้บริการชั่วคราว หรือขอยกเลิกบริการก่อน 1 ปีได้หรือไม่ ?

A:

กรณีระงับการใช้บริการชั่วคราว

  • สามารถทำได้เฉพาะลูกค้า AIS Fibre รายเดือน เท่านั้น
  • ต้องเป็นลูกค้า AIS Fibre อย่างน้อย 90 วัน
  • ต้องไม่มียอดค่าใช้บริการค้างชำระ ณ วันที่ให้ระงับบริการชั่วคราว
  • สามารถขอระงับบริการชั่วคราว ได้ไม่เกิน 2 ครั้งต่อปี นับแบบ Calendar year
  • ต้องแจ้งวันที่ต้องการให้เริ่มระงับสัญญาณชั่วคราว และวันที่ต้องการกลับมาใช้งานทุกครั้ง
  • ช่วงระยะเวลาที่สามารถขอระงับบริการชั่วคราว ต้องไม่น้อยกว่า 30 วัน และไม่เกิน 60 วัน ต่อครั้ง
  • การขอแจ้งระงับบริการชั่วคราวล่วงหน้า ต้องไม่เกิน 30 วัน
  • เมื่อครบกำหนดขอระงับสัญญาณชั่วคราว ระบบจะทำการเปิดสัญญาณใหม่อัตโนมัติ และเริ่มคิดค่าบริการรายเดือนตาม Package เดิม โดยคิด Prorate ตามวันที่เริ่มกลับมาใช้งานจริง
  • ลูกค้าสามารถขอระงับบริการชั่วคราว หรือ เปิดใช้บริการ ผ่านทาง AIS Shop และ AIS Fibre Contact Center 1175 เท่านั้น
  • ลูกค้าที่ใช้งานโปรโมชั่นพิเศษ เช่น Greeting Package, Discount 50% 3 เดือน, Power 3 จะยังคงนับระยะเวลาโปรโมชั่นพิเศษต่อไป ไม่หยุดตามการระงับบริการชั่วคราว
  • ระหว่างระยะเวลาที่แจ้งระงับสัญญาณชั่วคราว จะไม่เรียกเก็บค่าบริการรายเดือนตามโปรโมชั่น
  • การระงับบริการ ไม่รวมถึงแพ็กเกจเสริม (On Top Package) อื่นๆ เช่น Hooq, Doonee ฯลฯ
  • ไม่สามารถระงับบริการ Fixed Line ได้ ค่ารักษาเลขหมายของ Fixed Line จะคงเรียกเก็บตามปกติ
  •  

การขอยกเลิกบริการก่อน 1 ปี สามารถทำได้หรือไม่

ลูกค้าสามารถขอแจ้งความประสงค์สมัครใช้บริการเอไอเอส ไฟเบอร์ ได้ 2 รูปแบบ ได้แก่

  • รับสิทธิ์ส่วนลดค่าติดตั้งและเดินสายภายนอก มูลค่า 4,800 บาท เมื่อตกลงใช้บริการเอไอส ไฟเบอร์ ต่อเนื่องอย่างน้อย 12 รอบบิล นับแต่วันติดตั้ง หากยกเลิกบริการก่อนครบ 12 รอบบิล ลูกค้าต้องชำระค่าติดตั้งคืนในอัตราที่ได้มีการหักลดลงตามสัดส่วนที่ได้ใช้บริการไปก่อนแล้ว เว้นแต่กรณีที่เหตุแห่งการยกเลิกบริการเกิดขึ้นจากให้บริการที่ไม่เป็นไปตามโฆษณาหรือมาตรฐานการให้บริการที่ได้แจ้งไว้ หรือเกิดขึ้นจากความผิดของผู้ให้บริการ จะไม่มีการเรียกเก็บค่าติดตั้งอีกแต่อย่างใด
  • กรณีเลือกชำระค่าติดตั้งและค่าเดินสายภายนอก 4,800 บาท ในรอบบิลแรก จะไม่มีกำหนดเงื่อนไขระยะเวลาการใช้บริการ เอไอเอส ไฟเบอร์
  • กรณีลูกค้ายกเลิกบริการ ทางบริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกเก็บคืนอุปกรณ์ทั้งหมดให้ทางบริษัทฯ
Q: มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการระงับบริการชั่วคราวหรือไม่ ?

A:

  • ไม่เก็บค่าบริการรายเดือนและค่าธรรมเนียมอื่นๆ ภายใน 30 วันแรก
  • เกิน 30 วัน (วันที่ 31 – 60) มีค่ารักษาช่องสัญญาณ /Port Maintenance fee 150 บาท คิดตามระยะเวลาที่ขอระงับบริการจริง
  • รอบบิลที่ลูกค้าทำการเปิดใช้บริการ (Reconnect Customer Request) จะ Prorate ตามการใช้งานจริง
Q: การย้ายจุดติดตั้งเดิม

A:

ต้องครบสัญญาครบ 6 เดือน จึงจะสามารถย้ายจุดติดตั้งได้

Q: เงื่อนไขฟรีค่าแรกเข้า

A:

ขอแจ้งเงื่อนไขการขออนุมัติฟรีค่าแรกเข้า 800 บาท ของกรุงเทพ ดังนี้

📌เงื่อนไขการขออนุมัติ

  1. กลุ่มลูกค้า postpaid (ไม่เข้าเงื่อนไข CVM) มี service year 3 เดือนขึ้นไป และชื่อและที่อยู่ติดตั้งตรงกับที่อยู่จัดส่งบิล postpaid >>แนบบิล postpaid
  2. กลุ่มลูกค้าสัญญาเช่าที่มีอายุสัญญาเช่าคงเหลือไม่น้อยกว่า 8 เดือน >>แนบสัญญาเช่า
  3. ใช้ใบแจ้งหนี้ของคู่แข่งที่ชื่อ และที่อยู่ตรงกับผู้ขอใช้บริการ >>แนบใบแจ้งหนี้

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการใช้งานอินเตอร์เน็ต

Q: อินเทอร์เน็ตที่ได้มาใช้ได้ไม่ทัวบริเวณบ้าน จะสามารถทำอย่างไรได้บ้าง?

A:

  • เนื่องจากสัญญาณ Wireless มีลักษณะเป็นคลื่นความถี่ ซึ่งอาจถูกลดทอนความเข้มของสัญญาณ ได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น สิ่งกีดขวาง ระยะทาง ดังนั้นแนะนำให้ท่านวางอุปกรณ์ไว้ในจุดที่สามารถกระจายสัญญาณได้ดี ไม่อับสัญญาณ จัดวาง Router ให้หันไปยังทิศทางที่ต้องการใช้งาน จะทำให้สามารถส่งสัญญาณได้ดีขึ้น
  • หากวิธีข้างต้นยังไม่ดีขึ้น ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของบ้านที่สัญญาณรบกวนมาก หรือ ขนาดของบ้านไม่เหมาะสมต่ออุปกรณ์เพียงตัวเดียว แนะนำให้ท่าน ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม เพื่อขยายสัญญาณให้กว้างยิ่งขึ้น เช่น Repeater , AP เป็นต้น
Q: Public IP กับ Private IP ต่างกันอย่างไร?

A:

Public IP คือ IP ที่สามารถใช้สื่อสารผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ แต่เนื่องจาก IP address มีจำนวนจำกัด จึงไม่สามารถกำหนด Public IP สำหรับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องได้ ดังนั้นจึงมีการกำหนด Private IP เพื่อนำมาใช้ติดต่อภายในหรือ Local network ซึ่งหาก Private IP ต้องการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต ก็จะต้องสื่อสารผ่าน Public IP อีกทีหนึ่ง

Q: IPv4 และ IPv6 คืออะไร?

A:

IPv4 คือชุดตัวเลข 32 บิต ที่ถูกแบ่งออกเป็น 4 ช่วงๆละ 8 บิต ใน 1 ช่วงจะมีค่าตั้งแต่ 0-225 ดังนั้น IPv4 จะมีค่าตั้งแต่ 0.0.0.0 – 255.255.255.255 (แต่ตัวเลขบางชุดจะถูกยกเว้นไว้เพื่อใช้งานเฉพาะ) ถึงแม้จะเป็นช่วงชุดตัวเลขที่มีขนาดกว้างมาก แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะแจกจ่ายให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ดังนั้นจึงมีการกำหนดหมายเลข IP ขึ้นมาใหม่ เรียกว่า IPv6 โดยเป็นชุดตัวเลขที่มีขนาดเพิ่มมากขึ้นถึง 128 บิต ซึ่งเพียงพอให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลกใช้งานไปได้อีกนานเลยทีเดียว

Q: Port forwarding คืออะไร?

A:

คือการกำหนดเส้นทางของข้อมูลที่ถูกส่งมายัง router ให้ forward ข้อมูลต่อไปยังตำแหน่งที่อยู่หลัง router ในเครือข่าย โดยมี Port เป็นตัวกำหนด ซึ่งการกระทำนี้จำเป็นต้องอาศัยหลักการทำงาน DDNS ด้วย

Q: DDNS คืออะไร?

A:

เนื่องจาก IP ที่ได้จากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่เป็น IP ที่ไม่คงที่ จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาหรือทุกครั้งที่เปิด/ปิด Router ดังนั้นผู้ใช้จึงไม่มี IP ที่แน่นอนเพื่อใช้ในการอ้างถึง router DDNS หรือ Dynamic Domain Name system สามารถช่วยในการแก้ไขปัญหาข้างต้นได้ โดย DDNS จะทำจับคู่ระหว่าง IP address ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลานั้นให้เข้ากับ Domain name ที่กำหนดไว้

Q: Access point หรือ AP คืออะไร?

A:

คืออุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อและกระจายสัญญาณไร้สายได้ กล่าวคือ AP สามารถสร้างเครือข่ายไร้สาย จากระบบเครือข่าย LAN ได้ โดยตัวอุปกรณ์จะมีช่องเสียบสาย LAN อยู่ด้านหลังเพียงช่องเดียว และจะกระจายสัญญาณแบบไร้สายไปยังเครื่องลูกข่ายที่อยู่บริเวณรัศมีโดยรอบ

Q: Wireless 2.4 GHz ต่างจาก Wireless 5 GHz อย่างไร ใช้อย่างไหนดีกว่า?

A:

  • Wireless 2.4 GHz คือคลื่นสัญญาณหนึ่งที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อินเตอร์เน็ต มีความถี่ที่สูงจึงทำให้สามารถใช้งานในระยะไกลๆได้ แต่มีข้อเสียคือ มีช่องสัญญาณที่ใช้งานได้จำนวนน้อย และในความถี่ระดับ 2.4 GHz นี้ มีสัญญาณอื่นๆในระดับเดียวกันมาก ทำให้เกิดการรบกวนกันของสัญญาณได้ง่าย (เช่น สัญญาณไมโครเวฟ) ดังนั้น หากสภาพแวดล้อมในการใช้งาน เสี่ยงต่อกาถูกรบกวนกันของสัญญาณ ซึ่งเป็นปัจจัยทำให้ใช้งานอินเตอร์เน็ตได้อย่างไม่เสถียร หลุดการเชื่อมต่อบ่อยครั้ง
  • แนะนำให้ผู้ใช้งานเปลี่ยนมาใช้ Wireless 5 GHz มากกว่า แต่ใน สัญญาณ 5 GHz ก็มีข้อเสียอยู่คือ ใช้งานได้ในระยะที่ไกลน้อยกว่า สัญญาณ 2.4 GHz เนื่องจาก ความถี่น้อยลง ความกว้างของช่องสัญญาณเพิ่มมากขึ้น เป็นผลทำให้ความยาวของคลื่นลดลงนั่นเอง
  • หากผู้ใช้งานตรวจสอบแล้วว่าสภาพแวดล้อมมีสัญญาณรบกวนน้อย สามารถใช้งานได้ทั้ง Wireless 2.4 GHz และ 5 GHz แต่หากพบว่าสภาพแวดล้อมมีสัญญาณรบกวนมาก ขอแนะนำให้ผู้ใช้งาน เลือกใช้ Wireless 5 GHz จะให้ประสิทธิภาพที่ดีมากกว่า
Q: Standard Wireless 802.11 IEEE คืออะไร?

A:

คือมาตรฐานของความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลแบบไร้สาย หรือ Wireless ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 5 Class ได้แก่

  1. Class a จะใช้คลื่นความถี่ 5 GHz ในการรับ-ส่งข้อมูล ทำความเร็วได้สูงสุด 54 Mbps
  2. Class b จะใช้คลื่นความถี่ 2.4 GHz ในการรับ-ส่งข้อมูล ทำความเร็วได้สูงสุด 11 Mbps
  3. Class g จะใช้คลื่นความถี่ 2.4 GHz ในการรับ-ส่งข้อมูล ทำความเร็วได้สูงสุด 54 Mbps
  4. Class n จะใช้คลื่นความถี่ 2.4 GHz และ 5 GHz ในการรับ-ส่งข้อมูล ทำความเร็วได้สูงสุด 300 Mbps
  5. Class ac จะใช้คลื่นความถี่ 5 GHz ในการรับ-ส่งข้อมูล ทำความเร็วได้สูงสุด 1300 Mbps
  6.  
Q: Bridge Mode คืออะไร สามารถใช้งานได้อย่างไร?

A:

  • Bridge Mode คือ โหมดการใช้งานบน router ขนานหนึ่ง ซึ่งเปรียบเสมือนการแปลงสัญญาณจาก Analog เป็น Digital แล้วปล่อยผ่านสัญญาณไปยัง router อีกตัวที่ทำหน้าที่ในการจัดการ IP
  • ข้อดีคือ ทำให้การใช้งาน Router มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวหนึ่งทำหน้าที่แปลงสัญญาณ อีกตัวหนึ่งทำหน้าที่จัดการ IP และระบบ Wireless เป็นการลดภาระให้อุปกรณ์ เนื่องจากโดยปกติแล้ว อุปกรณ์แต่ละตัวจะมี CPU และ RAM ที่จำกัด เมื่อเรานำอุปกรณ์ดังกล่าว มาทำงานในหลายๆฟังก์ชัน ในบางครั้งอาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานไม่ดีเท่าที่ควร
  •  
Q: วิธีแก้ไขปัญหาสัญญาณ Wireless สัญญาณอ่อน/หลุดบ่อย/ไม่เสถียร

A:

  • แนะนำให้ผู้ใช้งานทำการตรวจสอบค่าสัญญาณด้วยโปรแกรม หรือ แอพพลิเคชันดังด้านล่างนี้ หากใช้งาน เครื่องคอมพิวเตอร์ แนะนำให้ติดตั้งโปรแกรม inssider หรือหากใช้งาน อุปกรณ์มือถือแนะนำแอพพลิเคชัน WiFi Analyzer
  • โดยการใช้งานบนโปรแกรม inssider และ แอพพลิเคชัน WiFi Analyzer จะใช้งานในทำนองเดียวกัน คือ สามารถบอกสัญญาณโดยรอบๆว่ามีสัญญาณใดเกาะอยู่ที่ Wi-Fi Channel ใดบ้าง เมื่อผู้ใช้งานตรวจสอบบนกราฟที่แสดงผล หากพบว่า Channel ใด มีการใช้งานน้อย ให้ทำการตั้งค่า สัญญาณ Wi-Fi บน Router ไปที่ Channel นั้น เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการรบกวนกัน ของสัญญาณ ซึ่งจะช่วยให้สามารถใช้งานสัญญาณ Wireless ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
Q: Download Upload คืออะไร ?

A:

  • Overdrive Download(ความเร็วดาวน์โหลดสูง): สำหรับกิจกรรมที่ต้องการความเร็วในการดาวน์โหลดสูงๆ ก็จะมีทั้งการดูหนังหรือคลิปวิดีโอออนไลน์ความละเอียดระดับ 4K, 8K, หรือ HDR, การดาวน์โหลดไฟล์ขนาดใหญ่ หรือการเล่นเกมออนไลน์ที่มีกราฟฟิค 3 มิติ ที่ต้องการความแม่นยำในการเล่น
  • Symmetry(ความเร็วดาวน์โหลด/อัพโหลดเท่ากัน): ความเร็วเท่ากันทั้งดาวน์โหลด และอัพโหลดก็จะเหมาะกับการใช้งานทั่วไปอย่างเช่นเล่นเน็ต, โซเชียล, ดูหนังหรือคลิปออนไลน์แบบ FHD, ฟังเพลงออนไลน์, เล่นเกมออนไลน์ทั่วไป, วิดีโอคอลล์ ฯลฯ
  • Overdrive Upload (ความเร็วอัพโหลดสูง): ความเร็วในการอัพโหลดจะเหมาะสุดๆ ในการโยนไฟล์ขนาดใหญ่ให้กับคนอื่นแบบออนไลน์ หรือการอัพโหลดไฟล์ใส่ Cloud Server ต่างๆ และใครที่เป็นสาย YouTuber ต้องอัพคลิปบ่อยๆ ตั้งค่าแบบนี้ก็ช่วยได้มาก

การชำระเงิน

Q: AIS Fibre เรียกเก็บค่าใช้บริการอย่างไร?

A:

  • ค่าบริการจะเรียกเก็บแบบล่วงหน้า ณ วันเริ่มต้นรอบบิล (Prepay) 1 เดือน ก่อนการใช้บริการ ซึ่งเป็นรูปแบบของการเรียกเก็บค่าบริการทั่วไปของอินเทอร์เน็ตบ้าน กรณีลูกค้าทำการสมัครและเปิดใช้บริการระหว่างรอบบิล จะคิดค่าบริการเฉลี่ยรายวัน (prorate) ตั้งแต่วันที่ติดตั้งเสร็จ-วันสิ้นรอบบิล โดยลูกค้าจะได้รับใบแจ้งค่าใช้บริการใบแรก หลังจากติดตั้งประมาณ 10 วัน
  • วันตัดรอบบิลใบแจ้งค่าใช้บริการ จะขึ้นอยู่กับวันที่ติดตั้ง
  • ใบแจ้งค่าใช้บริการ ใบแรกจะแสดงค่าบริการ 2 รายการ
      • ค่าบริการคิดเฉลี่ยตามวันที่ใช้งาน ตั้งแต่วันติดตั้ง – วันตัดรอบบิล (แสดงเฉพาะในบิลใบแรกเท่านั้น)
        ค่าบริการเรียกเก็บล่วงหน้า 1 เดือน เต็มจำนวน (แสดงตามปกติในทุก ๆ รอบบิล)

    ตัวอย่าง การแสดงหน้าใบแจ้งฯ ใบแรก กรณีเลือกแพ็กเกจ 750 บาท
    ติดตั้งวันที่ 26/01/59 จะได้วันตัดรอบบิลใบแจ้งฯ ทุกวันที่ 27

Q: สามารถชำระค่าบริการผ่านช่องทางไหนได้บ้าง ?

A:

  1. ชำระผ่านทางหน้าเว็บไซด์ AIS Fibre (www.ais.co.th/fibre)
    – เลือกเมนู “ชำระค่าบริการ”
    – กรอกหมายเลขอินเทอร์เน็ต (88xxxxxxxxxx) และหมายเลขบัตรที่ใช้ในการสมัคร เพื่อ log-in เข้าสู่ระบบ
    – สามารถเลือกวิธีการชำระค่าบริการผ่าน mPAY หรือชำระออนไลน์ผ่านบัตรเครดิต/เดบิต VISA/Master Card จากนั้น ดำเนินการตามขั้นตอน
  2. ชำระผ่านจ่ายบิลแอพพลิเคชั่น mPAY
    – Log in เข้าสู่หน้าหลัก เลือกไอคอน AIS Services
    – เลือก AIS Fibre
    – เลือกวิธีชำระ ใส่รหัส PIN และกดยืนยันการชำระ
  3. AIS Shop และร้านเทเลวิชทั่วประเทศ
  4. เคาน์เตอร์บริการ Tesco Lotus, Family Mart
  5. เคาน์เตอร์ธนาคาร, ตู้เอทีเอ็ม, ธนาคารอินเทอร์เน็ต, ธนาคารบนมือถือ
  6. หักค่าบริการอัตโนมัติผ่านบัญชีธนาคาร หรือหักค่าบริการอัตโนมัติผ่านบัตรเครดิต VISA, Master Card, AMEX, Diner Club ที่ออกภายในประเทศไทย โดยอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บิลใบแจ้งค่าบริการ
Q: วิธีจ่ายค่าบริการ AIS FIBRE ผ่าน Bualuang mBanking

A:

วิธีชำระค่าบริการ ผ่าน Internet ธนาคารกรุงเทพ

Q: วิธีจ่ายค่าบริการ AIS FIBRE ผ่าน k-Mobile Banking Plus

A:

วิธีชำระค่าบริการ ผ่าน Internet ธนาคารกสิกรไทย

Q: วิธีจ่ายค่าบริการ AIS FIBRE ผ่าน SCB Easy

A:

วิธีชำระค่าบริการ ผ่าน Internet ธนาคารไทยพาณิชย์

Q: วิธีจ่ายค่าบริการ AIS FIBRE ผ่าน KTB Netbank

A:

วิธีชำระค่าบริการ ผ่าน Internet ธนาคารกรุงไทย

Q: วิธีจ่ายค่าบริการ AIS FIBRE ผ่าน TMB Touch

A:

วิธีชำระค่าบริการ ผ่าน Internet ธนาคารทหารไทย

Q: วิธีจ่ายค่าบริการ AIS FIBRE ผ่าน KMA

A:

วิธีชำระค่าบริการ ผ่าน Internet ธนาคารกรุงศรี